'เบนโตะ' ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ของรัฐ

  • 11 ปีที่แล้ว
รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 4 สิงหาคม 2556
เบนโตะ หรือแคราเบน "kyaraben" หรือเดโครเบน ที่ปัจจุบันเป็นเบนโตะสกุลใหม่ ที่ปัจจุบันในเว็บไซต์พันทิป ในห้องข้าวกล่อง ได้นำรูปภาพสวยๆ เกี่ยวกับเบนโตะ มาโพสต์จำนวนมากเพื่อแบ่งปันความรู้กัน
สำหรับบ้านเราเคยฮิตการผูกปิ่นโต และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการถูกทอดทิ้ง จากพ่อแม่ ลูกหลานคนไทยคนไหนที่ได้รับประทานอาหารปิ่นโต ที่ไม่อร่อย แห้งแล้ง ซึ่งวรรณกรรมบางเรื่องได้สะท้อนถึงสังคม ในยุคที่พ่อแม่แตกแยก ต้องกินอาหารปิ่นโต พ่อแม่ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกได้รับประทาน ต้องอาศัยการผูกปิ่นโตกับร้านประจำที่มีอาหารซ้ำๆ กัน
คำว่า "เบนโตะ" แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1997 เมื่อ นสพ.อาซาฮี นำมาแพร่หลาย จนที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน แต่คำว่า"เบนโตะ" ในไทยนั้น ยังไม่เข้าถึงจิตวิญญาณ ของคำว่า "Kawaii" เนื่องจาก วัฒนธรรมการกินของคนญี่ปุ่น ต้องทำคำเล็กๆ พอดีคำ ประดิดประดอยสวยงาม แล้วยังใส่ในถ้วยเล็กๆ แล้วนำมาใส่ในถ้วยใหญ่อีกที ดังนั้นความคิดของ " kyaraben" จึงเป็นที่มาของการใช้กระดาษฟอยส์ ไม้จิ้มเล็กๆ มีการห่ออาหารชิ้นเล็กๆนั้นอีกที
สำหรับเบนโตะของคนไทยนั้น จะเป็นอะไรที่ชิ้นใหญ่ๆอัดแน่น ไม่มีการจัดมุมอาหารเข้ากับกล่อง ซึ่งคนไทยยังไม่เข้าถึงจิตวิญญาณ Kyaraben แม้ว่าคนไทยจะรู้จักการแกะสลักอาหารให้สวยงามแต่ อาหารเหล่านั้นเป็นของคนชั้นสูง ไม่มีการถ่ายทอดมาสู่คนชั้นกลาง
ในยุคก่อนหน้าที่เกิด "Kyaraben"ในญี่ปุ่น เบนโตะไม่ได้มีหน้าตาวิจิตรสวยงามเช่นปัจจุบัน เบนโตะในยุคแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 หน้าตาเบนโตะ อาจเป็นบ๊วยลูกหนึ่งวางอยู่ในข้าวกล่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนความอดอยากของคนในยุคนั้น ที่ไม่มีกับข้าวอะไรนอกจากบ๊วย ต่อมามีการยกระดับขึ้นมาเป็น Tori bento มีสาหร่ายเพิ่มเข้ามาและบ๊วย รวมไปถึงการมีปลาแซลมอนย่างเกลือ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่าอายเพราะแต่ละคน จนเหมือนกันหมด แต่ที่ "เหม็นจน"คือการเอาไส้กรอกเวียนนามาทำเป็นปลาหมึก แล้วประดิษฐตัวสอดไส้ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าละอายมากกว่า