พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • 12 ปีที่แล้ว
รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2555

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่มีกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลายทั้งในเขตพื้นทวีปและเขตมหาสมุทร กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับการแสดงออกทางเพศ

รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกาวันเสาร์นี้ เราได้ยกบทความของดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ซึ่งได้ถ่ายทอดบนเว็บไซต์ของศูนย์มานุษย์วิทยาศิรินทรขึ้นมาเป็นหัวข้อในการคิดเล่นเห็นต่างวันนี้ ในบทความได้กล่าวถึง “พื้นที่ทางวัฒนธรรมของ คนข้ามเพศ และ คนรักเพศเดียวกัน” ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตที่มีกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่หลากหลาย กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับการกับแสดงออกทางเพศ และมีสิ่งที่น่าสนใจคือคนในภูมิภาคนี้คุ้นเคยกับการแสดงออกแบบ “ข้ามเพศ” ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิด

พฤติกรรมข้ามเพศ รักต่างเพศ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาติดต่อทางการค้าและเผยแพร่ศาสนา เมื่อคนเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับในสังคม คนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันจึงถูกลดบทบาทและคุณค่าลง เมื่อวิธีคิดแบบตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ทำให้สถานะของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันจะถูกมองเป็นเรื่อง “ผิดปกติ” จนคนกลุ่มนี้ต้องแสวงหาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่ให้เกิดการยอมรับ ดังนั้นพื้นที่ทางวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งเดียวที่ยังรองรับการแสดงบทบาทของคนข้ามเพศอย่างเช่นในพิธีกรรมทางศาสนา การบูชาวิญญาณ

ในพม่า มีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีผลต่อการดำรงชีวิต ชาวพม่าเรียกว่า “ผีนัต” (Nat Pwe) ผีนัตคือร่างทรงผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับวิญญาณซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้จะเป็นชายหรือเป็นบุคคลข้ามเพศก็ได้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่บุคคลข้ามเพศได้รับการยอมรับทางสังคมอย่างถูกต้อง
นอกจากในพม่าแล้ว ยังมีในวัฒนธรรมของชาวบูกิส ชาวอีบัน ชาวนกาจู ดายัค ในเขตตอนใต้ของซูราเวสีประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีร่างทรงเป็นคนสองเพศที่เรียกว่า Bissu ในประเทศกัมพูชา วัฒนธรรมของชาวมอญได้กำหนดให้ ผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ก่อนวันบวช ผู้บวชจะต้องแต่งกายเป็นสตรี สวมผ้านุ่ง ผ้าสไบ ใส่เครื่องประดับแต่งหน้าทาปากเช่นเดียวกับสตรี และจะเรียกวันนี้ว่า “วันสุกดิบ”

สำหรับในประเทศไทยแล้ว การแสดงออกในพฤติกรรมข้ามเพศจะพบเห็นได้จากการแสดงละครชาตรี โนรา ละครนอก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันการเรียกร้องพื้นที่ของคนข้ามเพศหรือคนรักเพศเดียวกันมีมากขึ้น ดังที่เห็นในข่าวว่านักศึกษาที่เป็นสาวประเภทที่สองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยื่นเรื่องจนสามารถแต่งผู้หญิงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ เมื่อแพทย์วินิจฉัยออกมาแล้วเธอมีความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะทางเพศและต้องได้รับการรักษา

ติมตามเรื่องราวของ พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ได้ในคืนนี้ค่ะ

แนะนำ