การหายไปของคำว่า 'กรรมกร'

  • 11 ปีที่แล้ว
การหายไปของคำว่า 'กรรมกร'

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2556

ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนคำ "กรรมกร" เป็น "แรงงาน" เป็นวิธีสะกด "ปีศาจวาทกรรม"ในสังคมไทย ที่ปีศาจวาทกรรมตนหนึ่งที่ตามหลอกหลอนชนชั้นปกครองไทย ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัญญาชนนอกระบบกลุ่มหนึ่ง นำโดยถวัติ ฤทธิเดช ได้ออกหนังสือพิมพ์ "กรรมกร" และรวมตัวเป็น "คณะกรรมกร" เคลื่อนไหวสนับสนุนผลักดันการต่อสู้เรียกร้องและนัดหยุดงานของคนงานรถรางพระนคร
จุดประสงค์ของหนังสือพิมพ์ กรรมกร ส่วนหนึ่งเพื่อผจญต่อต้านเหล่าอำมาตย์ทุจริตซึ่งคิดมิชอบ และปลุกให้พวกกรรมกรตื่นขึ้นจากหลับ ประหารสภาพของพวกกรรมกร ให้พ้นจากความเป็นทาษ (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,แรงงานวิจารณ์เจ้า)
และในปี พ.ศ.2499 เมื่อ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเจรจากับตัวแทนขบวนการสหภาพแรงงาน หัวก้าวหน้าที่เข้าพบเพื่อขอจัดงานฉลองวันกรรมกรสากลที่ 1 พฤษภาคมในปีนั้น อธิบดีเผ่าได้ยื่นเงื่อนไขต่อรองว่าจะอนุญาตให้จัดถ้าหากฝ่ายคนงานยอมเปลี่ยนคำเรียกวันดังกล่าวจาก วันกรรมกร เป็น วันแรงงาน เสีย
และในสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการขอร้องให้ผู้นำแรงงานเปลี่ยนชื่อเรียกวันที่ 1 พฤษภาคม เป็น "วันกรรมกรสากล" เสียใหม่
ซึ่งวิธีการดังกล่าวคุณถวัติ บอกว่านี่เป็นวิธีการสะกดปีศาจวาทกรรมอันไม่พึงปรารถนา (Lexica non grata) โดยจับมาลงหม้อปิดยันต์ถ่วงน้ำแบบไทยๆตามสูตรสำเร็จ คือ คุมคำ-คุมความหมาย-คุมความคิด-คุมคน
สำหรับประวัติการต่อสู้ชนชั้นกรรมกรไทย ที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนในวารสารรพี 23,ระบุว่าชนชั้นกรรมกรไทยมีอายุประมาณร้อยกว่าปีแล้ว แต่ประวัติการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรมีน้อยจนแทบไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีลักษณะวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกือบจะไม่มีเลย
สำหรับการก่อตั้งสหพันธ์แรงงานนั้นเกิดขึ้นในปลายปี พ.ศ.2444 กรรมกรรถราง ได้รวมตัวกันก่อตั้งสหพันธุ์แรงงานขึ้น โดยมีสมาชิกราวๆ 300 คน วัตถุประสงค์คือ สามัคคี ประหยัด สงเคราะห์ผู้ชราและคนพิการ ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถปฎิแสธการจดทะเบียนของสมาคมนี้ได้
ต่อมาปี 2456 รัฐออกกฎหมายให้รถลาก และสามล้อต้องเจดทะเบียนและเสียค่าทะเบียนถึง 3 สตรางค์ และกำหนดอายุผู้ลาก โดยอ้างว่าควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ แท้จริงเป็นกฎหมายที่เอื้อความสะดวกสบายให้นายทุนและต่างชาติที่ร่ำรวย ให้ขับรถได้สะดวกสบายเท่านั้น
ในปี 2488 สหอาชีวะกรรมกร ได้จัดงานฉลองวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่วังสราญรมณ์ ในปี 2489 มีการฉลองวันเมย์เดย์ที่ท้องสนามหลวง ภายใต้ธง "กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน"

แนะนำ