รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ ตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมคือคำตอบ

  • 8 years ago
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ ตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมคือคำตอบ

Londong, UK --
เด็กหญิงในอังกฤษรายหนึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่น้องได้รับการแก้ไขยีนเพื่อรักษามะเร็งเป็นรายแรกของโลก


เลลา ริชาร์ดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน เมื่ออายุได้เพียง 14 สัปดาห์ ครอบครัวของหนูน้อยสูญเสียความหวังหลังจากการรักษาล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง จนทีมแพทย์ที่โรงพยาบาล Great Ormond Street ในกรุงลอนดอนดำเนินการทดลองตัดต่อยีนเพื่อช่วยชีวิตน้องไว้


เทคโนโลยีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ TALEN ซึ่งทดสอบในหนูเท่านั้นก่อนหน้านี้ ใช้เครื่องมือตัดต่อโมเลกุลที่ทำหน้าที่เหมือนกรรไกรตัดยีน เพื่อให้ T-เซลล์จากผู้บริจาคที่มีสุขภาพดีมีพฤติกรรมสองแบบ หนึ่ง เซลล์จะล่องหนต่อเซลล์มะร็งที่ตามปกติจะฆ่าเซลล์ดีเหล่านี้ ; สอง พวกเซลล์จะถูกปรับให้กำหนดเป้​​าหมายและต่อสู้กับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเท่านั้น


เลลาต้องใช้เวลานานหลายเดือนตามลำพัง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเธออ่อนแอมากหลังจากขั้นตอนดังกล่าว หลังจากได้รับการยืนยันว่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวถูกกำจัดออกจากร่างกาย น้องก็ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อแทนที่เม็ดเลือดทั้งหมด รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันของน้อง

การรักษานี้ถูกจัดขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของโรงพยาบาล Great Ormond Street ในกรุงลอนดอน มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และ บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Cellectis ของฝรั่งเศส โดย Cellectis จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนให้กับการทดลองทางคลินิกเต็มรูปแบบในปีหน้า

Recommended