ครัวไทยไปครัวโลก..ได้แค่ฝัน หรือเป็นจริง (ตอน 2 )

  • 11 ปีที่แล้ว
รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556

อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และคุณแขก เทปนี้ยังคุยกันเรื่องอาหารไทยในญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เกียวโต นอกจากร้านอาหารไทยช้างน้อย แล้ว ยังมีร้านอาหารไทยหลายร้านที่อยู่ที่นี่ ทั้งร้านผักชี ซึ่งเป็นร้านอาหารตามสั่ง,ร้านคลื่น พ่อครัวมาจากภาคใต้ รสชาติจัดต้าน พ่อครัวจะทำอาหารให้ลูกค้าได้ดูกันเลยทีเดียว,ร้านอาหารอีสาน จะขายอาหารอีสาน แบบเซ็ต และบุฟเฟ่ต์

จะเห็นว่าในญี่ปุ่นจะมีอาหารหลายเชื้อชาติ และบางเมนูก็จะมีการปรุงแต่งแบบญี่ปุ่น แต่ภาพรวมแล้วมาตรฐานไม่มีอะไรที่ดูแย่เลย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าขั้นแรกการนำสินค้าเข้าประเทศต้องผ่านกระบวนและขั้นตอน และมีกฎหมายเข้มงวดมาก เมื่อตอนที่คุณแขกช่วยคุณโอซุมุ ทำร้านอาหารช้างน้อย ของทุกอย่างตั้งแต่ครก เขียง เครื่องปรุง ถ้วยชาม ต่างๆล้วนสั่งมาจากเมืองไทย แต่ปรากฎว่าของไปติดที่ศุลกากรนานถึง 2 เดือน ทำให้การเปิดร้านล่าช้าไป 3 เดือน แม้แต่จานที่นำเข้ามาต้องตรวจดูทุกใบ

อ.ปวินเล่าถึงตอนที่อยู่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ช่วงนั้นทำงานภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณมีนโยบายส่งเสริมด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก และคุณทักษิณมีทีมงานที่มีความคิดบรรเจิดอย่างมาก มีความเป็น Creativity เช่นให้เมืองไทยเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุด ให้กรุงเทพเป็นแหล่งแฟชั่น เป็นแหล่งท่องเที่ยว และให้ครัวไทยไปครัวโลก พื้นฐานความคิดมาจากไทยเป็นแหล่งอาหาร ดังนั้นการผลิตควรเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มแรก ควรผลิตให้ได้มาตรฐานไม่เช่นนั้นเราก็ไม่สามารถส่งไปขายในต่างประเทศได้

คุณแขกได้นำข้อมูลของ BOI มาดู พบว่ามีสินค้าการส่งออกของไทย ประเภทเครื่องปรุง ในปี 2011 มี ซอสมะเขือเทศ 1%ซอสถั่วเหลือง 5% น้ำมันหอย 5%น้ำปลา8% ซอสพริก10% แกงสำเร็จรูป 9 % ซีอิ้วขาว4 %ซอสอื่นๆ 16% โดยเฉพาะซอสพริกมีการส่งออกมากถึง 480 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศที่ไทยส่งไป คือญี่ปุ่น 15% ,รองลงมาสหรัฐ,จีน สินค้าที่ส่งออกมากคือกุ้ง ปลาทูน่า ปลาแช่แข็ง ข้าว ไก่ และอื่นๆ ผลไม้ที่ส่งออก สับปะรด น้ำสับปะรด มะม่วง ส่วนผักมีข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน น้ำตาล อาหารสัตว์ ซึ่ง อ.ปวินบอกว่าสิ่งหนึ่งเราต้องยอมรับนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่หลายคนต่อต้าน ตอนนี้ยังคงใช้ได้อยู่และทำต่อเนื่องไปจนถึงรัฐบาล" ยิ่งลักษณ์ "คือครัวไทยไปครัวโลก และสินค้าการเกษตรยังไปอีกไกล ซึ่งคุณแขกว่า จากนโยบายรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทีมของอาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ไปทำวิจัยมาพบว่า รถไฟความเร็วสูงใช้ขนผักจริงๆ เพราะปัจจุบันระบบโลจิสติกส์ของไทยยังมีปัญหาทำให้ผักเน่าถึงร้อยละ 70

อย่างไรก็ตามการส่งออกผลไม้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงแม้ว่าจะมีการปลูกให้ได้มาตรฐานสากล แต่ถ้าไม่ส่งออกเร็ว ก็จะมีปัญหาการเน่าเสีย ซึ่งคุณแขกเปรียบเทียบว่าทำไมบ้านเรา ถึงได้กินเชอร์รี่สด อร่อยจากอเมริกา มีแอปเปิ้ลทุกพันธ์จากนิวซีแลนด์ ทำไมเราถึงไม่ทำอาหาร หรือทำแกง ที่มันอร่อยเปรี้ยงไปเลย ทำไมงานฟู้ดแฟร์ จึงมีแต่การสลักแตงโมเท่านั้น มันควรมีอย่างอื่นที่ส่งเสริมกัน

จากเดินทางไปหลายประเทศของ อ.ปวิน พบว่ามีซอสศรีราชา มีขายไปทั่วโลก รสชาติดี แต่คนผลิตคือเวียดนาม และแพ็กเกจใช้ง่ายมาก เมื่อเปรียบเทียบกับขวดเต้าเจี้ยวบ้านเราแทบทุบขวดแตก เมื่อพูดถึงร้าน 3ดาวมิชลิน เกียวโตทั้งสองพบว่า อาหารอร่อยมาก และสิ่งที่ตื่นตะลึง การคิดอาหารแต่ละเซ็ต คิดถึงศิลปะต่างๆ ถึงเวลาที่อาหารไทยต้องคิดใหม่ทำใหม่กันเล้ว....

แนะนำ