คนแก่…อุปสรรคหรือโอกาสของเศรษฐกิจ?

  • 11 ปีที่แล้ว
รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 8 กันยายน

อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และคำผกา ยังอยู่ที่เกียวโต ซึ่งเป็นมหานครที่มีอายุถึง 2,000 ปี การกลับมาคราวนี้ของ คำผกาพบว่า มีคนแก่มากขึ้นทำให้บรรยากาศดูหงอยเหงา จากการอ่านบทความของ คำผกาใน Japan Time พบว่ามีผู้หญิงสูงอายุชาวอเมริกัน ที่อยู่ญี่ปุ่น ได้เขียนบทความว่าเธอได้ข่าวอยู่เสมอว่ามีคนพบ คนแก่เสียชีวิตภายในบ้านไปแล้ว 4 วัน,บางคนพบตายไปแล้ว 3 วัน,อีกบ้านตายไปแล้ว 5 วัน ซึ่งทางรัฐบาลท้องถิ่นพยายามแก้ปัญหาคนแก่อยู่บ้านคนเดียวด้วยการ ตื่นเช้ามาให้ชักธงขึ้นที่หน้าบ้าน เพื่อให้เพื่อนบ้านรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่

ผู้เขียนชาวอเมริกันบอกว่าเธอมักมีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำ มักนำของมาให้สม่ำเสมอ ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่จริงๆ แล้วต้องการมาตรวจสอบว่าตายแล้วหรือยัง

เรื่อง Aging society หรือ "สังคมผู้สูงอายุ"นั้นเป็นปัญหาของทางญี่ปุ่นจริงๆหรือ...

บรรยากาศของในเมืองเกียวโตนั้นหงอย... อ.ปวิน มองว่าเป็นเรื่องจริง นอกจากปัญหาเรื่อง aging society แล้ว ยังมีเรื่องของเศรษฐกิจที่ตกต่ำมานาน ซึ่งญี่ปุ่นยังต้องศึกษาอะไรอีกเยอะ การที่คนญี่ปุ่นมีอายุยืนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่เป็นธรรมชาติ เช่นปลาดิบที่ไม่ต้องผ่านกระบวนอะไร แต่การมีอายุยืนใช่ว่าเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะยังต้องเกี่ยวข้องเรื่องสังคม เศรษฐกิจ ค่าดูแลรักษาให้ คนเหล่านี้อยู่อย่างดี มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

คำผกาได้ตั้งข้อสังเกตุว่า เมื่อคนญี่ปุ่นมีอายุยืนเพราะกินอาหารเพื่อสุขภาพเยอะ แต่ขณะเดียวกันที่นี่กลับมีร้านขายเหล้าทุกๆ 10 เมตร และร้านขายบุหรี่ทุกๆ 5 เมตร จึงไม่เข้าใจว่า ทำไม สสส.บ้านเราถึงออกมารณรงค์ต่อต้านเรื่องนี้อย่างมาก

ปัญหาเรื่องคนแก่ ญี่ปุ่นได้หาทางออกให้คนเหล่านี้ทำงาน โรงแรมรัฐบาลบางแห่ง ผู้ที่ทำการ Check in-check out ก็เป็นคนแก่ รวมไปคนที่ทำความสะอาด

เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ที่มีปัญหาเรื่อง asing society และรัฐหาทางออกไม่ให้คนแก่ฟุ้งซ่าน ซึ่งทางสิงคโปร์ พยายามให้คนแก่ออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น เช่นที่สนามบินนานาชาติชางฮี คนที่เก็บรถเข็น หรือทำงานใน Food Court ก็ล้วนใช้คนแก่ทั้งสิ้น เรื่องเหล่านี้สังคมไทยต้องเรียนรู้ ว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้า เราต้องเจอพิษ asing society และ Ageism การเหยียดวัย อย่างแน่นอน

ไปดูตัวเลขแรงงานที่ส่งผลกระทบภาวะเศรษฐกิจพบว่า ในสหรัฐอเมริกา มี Labor force เพิ่ม 23% ส่วนของญี่ปุ่นเพิ่ม 0.6% เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่า ชนชั้นที่จะก้าวขึ้นมาแทนนั้น หดตัวลง กลายเป็นว่ากลุ่มคนแก่หัวบาน อย่างไรก็ตามในระยะยาวจะต้องผลักดันให้คนมีลูกมากขึ้น แต่ในเวลานี้เราจะหากินคนกับคนแก่อย่างไรดี

คำผกาผุดไอเดียเรื่องการระบายคนแก่ในญี่ปุ่นไปประเทศไทย หากไทยสามารถสร้างแบบแผนที่ชัดเจนว่า หากมาเมืองไทยแล้วจะอยู่บ้านพักที่เป็นรีสอร์ทอย่างไร หรือมีสถานที่ตีกอล์ฟที่ไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นไปได้ เพราะคนญี่ปุ่นทั้งคนหนุ่มสาวและคนแก่ ชอบมาเที่ยวเมืองไทย หากสร้าง healthcare tourism หรือ Medical tourism บวกกับการท่องเที่ยวไปด้วยแล้ว ยังเป็นการสร้างงานในประเทศไทย เพราะคนที่จะมาดูแลตรงนี้ ต้องมีคุณภาพ รู้เรื่องสุขภาพและมีเรื่องของภาษาด้วย

ดังนั้นเตรียมความพร้อมประเทศไทยเข้าสู่ asing society ควรใช้ญี่ปุ่นเป็นบทเรียน ทั้งเรื่องห้องน้ำ ต้องมีปุ่ม Emergency ,มีราว สำหรับคนแก่ หรือคนพิการ รวมทั้งทางเท้าสำหรับคนแก่ หรือคนพิการด้วย